หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสฤทธิ์ สุมโน (บุญใหญ่)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
ทัศนคติที่มีต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในชาดกเรื่องพระมหาชนก ไปปรับใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ ๑-๓ โรงเรียนประประทุมวรราชวิทยา ตำบลกระโสบ อำเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระสฤทธิ์ สุมโน (บุญใหญ่) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๙/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัตยาภิวัฒน์, ดร.
  ผศ.ดร. บุญเลิศ ราโชติ
  ว่าง
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุ ๓ ประการ คือ ๑)  เพื่อการศึกษาทัศนคติที่มีต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ๒)  เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปปรับใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ทีมี เพศ  อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันและ ๓)  เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปปรับใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓  โรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง คือผู้เกี่ยวข้องกับนักเรียนโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ตำบลกระโสบอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีผู้บริหาร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ตำบลกระโสบ อำเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน ๑๐๘ ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgane)  โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย  มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี ๒ ประเภท  ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา  คือการทศสอบค่าที่  (t-test)  และการทศสอบความแปรปรวนแบบทางเดี่ยว  (One – Way  ANOVA  ro  F-test) 

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการมีทัศนคติต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓  ของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา  ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  โดยรวมทั้ง ๔ ด้าน อยู่ในระดับมาก  แต่เมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าสูงสุดคือ  ด้านสัจจะ

๒)  ผลของการเปรียบเทียบ พบว่าผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยาที่มี  เพศ  อายุ  การศึกษา  และอาชีพต่างกันมีทัศนคติต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปปรับใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา  ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีโดยรวมทั้ง ๔ ด้านไม่แตกต่างกัน

๓)  ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยาได้เสนอแนะเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปปรับใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่  ๑-๓  ของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  สามารถแยกออกเป็นด้าน  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้  คือ ๑)  ด้านวิริยะ คือ ครูควรให้นักเรียนเข้าใจความเพียรก่อนแล้วนำไปปฏิบัติในการศึกษาเล่าเรียน  การอ่าน และการจัดกิจกรรม  ในโรงเรียน เป็นต้น  ๒)  ด้านสัจจะ คือ  นักเรียนควรเข้าใจและปฏิบัติงานโดยเคารพสัจจริง โดยยกเอาเรื่องพระมหาชนกมาประกอบ  ครูควรจัดกิจกรรมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ เป็นต้น  ๓)  ด้านขันติ คือ  ครูต้องสอนให้นักเรียนเข้าใจเรื่องขันติ  ความอดทนทางจิตใจ ที่มีต่อความต้องการทั้งหลาย  ให้นักเรียน  ๔)  ด้านเนกขัมมะ คือครูสอนให้นักเรียนเข้าใจ  เนกขัมมะ คือ  การแสวงหาความสงบที่ทำให้เกิดความสุข  โดยวิธีการออกบวชแล้วบำเพ็ญอยู่ในความสงบหรือในป่า  ดังพระมหาชนก

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕